public speaking

การพูดในที่ชุมชน public speaking คืออะไร และมีเทคนิคอย่างไร

ในโลกของการทำงาน อาวุธอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญอย่างมากก็คือ การพูดในที่ชุมชน หรือ public speaking การพูดในที่ชุมชนหรือที่มีคนเยอะนั้นจะเป็นวิธีหนึ่งที่เราจะสื่อสารสิ่งที่เราต้องการจะนำเสนอออกไปได้ หากพูดได้ดี คนเข้าใจ โอกาสที่เราจะได้ตามสิ่งที่ต้องการก็จะมีมากขึ้นด้วย

public speaking
การพูดในที่ชุมชน public speaking

การพูดในที่ชุมชนคืออะไร

คำว่าการพูดในที่ชุมชนนั้น หมายถึง การขึ้นไปพูดหรือบรรยายหัวข้ออะไรสักอย่าง ต่อหน้าคนเยอะ หรือ ต่อหน้าธารกำนัล การพูดคนเยอะแบบนี้บอกเลยว่าไม่ง่ายอย่างที่คิด ลองนึกภาพตัวเองยืนอยู่บนเวทีที่มีคนมองมานับ 40-50 คน จะมีความรู้สึกอย่างไร หากไม่ได้ฝึกมาดีพอรับรองว่าตื่นเต้นจนแม้ชื่อตัวเองก็ยังพูดไม่ถูกก็มี หากเราอยากจะพูดในที่ชุมชนให้เป็นเรามีเทคนิคมาแนะนำ

มองผู้ฟังเสียใหม่

วินาทีแรกที่เราขึ้นไปยืนบนเวทีเพื่อจะพูดอะไรสักอย่างบนนั้น เชื่อว่า เราต้องเจอกับสายนับหลายสิบคู่มองมาที่เราเป็นจุดเดียว หลายคนอาจจะเกิดความกังวลอย่างมากต่อผู้ฟังเหล่านั้น กลัวว่าจะคนฟังจะจับผิด คนฟังจะตำหนิ ความคิดเหล่านี้ยิ่งทำให้เราเกร็งจนพูดได้ยากขึ้นไปอีก ลองเปลี่ยนมุมมองใหม่ด้วยการคิดว่าผู้ฟังเป็นเหมือนเพื่อน คนรู้จัก ที่พร้อมจะฟังเราอย่างเต็มที่ จะทำให้เราผ่อนคลายและพูดได้ดีมากขึ้น

ตัวช่วยต้องมี

การขึ้นไปพูด พูด แล้วก็พูดอย่างเดียวจนจบนั้นบอกเลยว่าไม่ใช่แล้วในยุคนี้ เทคโนโลยีมีมากมายเราสามารถเอามาเป็นเครื่องมือช่วยในการพูดได้ ไม่ว่าจะเป็น สไลด์ powerpoint หรือ คลิปสั้นก็จะช่วยให้เราดึงความสนใจของคนฟังให้หันไปทางอื่นได้ ทำให้เราไม่ต้องพูดเยอะ แถมยังสร้างอารมณ์ร่วมการพูดในหัวข้อของเราได้ดีด้วย บางคนอาจจะใช้เกมเพื่อมาสร้างอารมณ์ขัน ความสนุกให้การพูดของเราไม่เครียดก็มีเหมือนกัน

ลดความเกร็งด้วยความจงใจ(พลาด)

เวลาเราขึ้นเวที สิ่งที่เราไม่อยากให้เกิดความผิดพลาด เพราะกลัวว่าความผิดพลาดจะทำให้เราพูดไม่ออก เครียด กังวล จนทำให้การพูดในที่ชุมชนไม่ประสบความสำเร็จ แต่เราอาจจะพลิกวิกฤติเป็นโอกาสด้วยการสร้างความผิดพลาดเล็กๆน้อยเพื่อสร้างจุดสนใจของผู้ฟังได้ อย่างเช่น ปากกาตก, พูดผิดแบบจงใจ

เว้นระยะ ให้เหมาะสม

เวลาเราพูดบนเวที เชื่อว่าหลายคนอาจจะเตรียมมาเยอะมาก บางคนพูดสามนาที เตรียมคำพูดมาประมาณ 5 หน้ากระดาษเอสี่ พอได้พูดก็ต้องรีบพูดจนกลัวว่าที่เตรียมมาจะไม่พอ ซึ่งจริงๆไม่ใช่เลย การพูดแบบเว้นระยะ จังหวะ อย่างเหมาะสม แม้จะไม่ได้พูดทุกอย่างที่เตรียมไว้ แต่จะได้ผลมากกว่าอีก